เมนู

มีความว่า พระโยคาวจรเจ้า จะยืนก็ดี จะเดินจงกรมก็ดี หรือนั่งนอนก็ดี ในป่ากว้าง
ย่อมงามนักหนา ภิกษุควรจะชื่นชมยินดีป่าอันกว้างนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร
จบโฆรสวรรคที่ 1 แต่เพียงนี้
ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรจนาจารย์จัดผูกอุทานคาถากล่าวหัวข้อบทมาติกา ที่แสดง
มาแล้วข้างต้นนั้นไว้ว่า
โฆรสโร จ กุกฺกุโฏ กลนฺทโท ทีปินี ทีปิโก
กุมฺโม วํโส จ จาโป จ วายโส อถ มกฺกโฏ

มีใจความว่า องค์แห่งลามีเสียอันพิลึก องค์แห่งไก่ องค์แห่งกระแต องค์แห่งแม่เสือ
เหลือง องค์แห่งพ่อเสือเหลือง องค์แห่งเต่า องค์แห่งปี่ องค์แห่งแหล่งปืน องค์แห่งกา องค์แห่ง
วานร เหล่านี้ ท่านจัดเป็นวรรคอันหนึ่ง ดังนี้แล้ว

ลาวุลตาวรรค ที่ 2


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามด้วยองค์แห่งน้ำเต้าต่อไป
ว่า องค์อัน 1 แห่งน้ำเต้านั้นอย่างไรเล่า
พระนาคเสนเถรเจ้าจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ธรรมดา
เถาน้ำเต้าย่อมเลื้อยไป เองงวงพันเหนี่ยวหน่วงซึ่งย่อมหญ้าและไม้แห้ง แล้วเลื้อยผ่านไปใน
เบื้องบนงอกงามอยู่ ณ เบื้องบนนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าพึงกระทำอารมณ์ให้
เหมือนเถาน้ำเต้าอันมีงวง หน่วงเอาพระอรหัตด้วยใจ ให้จำเริญอยู่ในพระอรหัตนั้น มหาราช
ดูกรบรมบพิตรผู้มีศักดิ์ เป็นอัครกษัตริย์อันประเสริฐ นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งน้ำเต้า ยุติ
ด้วยคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเจ้ากล่าวไว้
ยถา ลาวุลตา นาม ติเณ กฏฺเฐ ลตาย วา
อาลมฺพิตฺวา โสณฺฑิกาหิ ตโต วฑฺฒติ รูหติ
ตเถว พุทฺธปุตฺเตน อรหตฺตผลกามินา
อารมฺมเณ อาลมฺพิตฺวา วฑฺฒิตพฺพํ อเสขผลํ